วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

HTML คืออะไร

HTML เอชทีเอ็มแอล คือ  ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ ใช้เขียนโปรแกรม ย่อมาจากอะไร

     HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ ถูกพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) และจากการพัฒนาทางด้าน Software ของ Microsoft ทำให้ภาษา HTML เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ หรือที่เรียกว่า HTML Application  
       HTML
 เป็นภาษาประเภท {--mlinkarticle=2309--}Markup {--mlinkarticle--}  สำหรับการการสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, {--mlinkarticle=2234--}Editplus {--mlinkarticle--} หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML 
ส่วนการเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม {--mlinkarticle=1849--}web browser {--mlinkarticle--} เช่น {--mlinkarticle=2150--}IE Microsoft Internet Explorer  {--mlinkarticle--} (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น


บทที่1 โครงสร้างภาษา HTML อย่างง่าย
   {--mlinkarticle=2026--}HTML {--mlinkarticle--} คือภาษาประเภท Markup สำหรับการการสร้างเว็บเพจ

ตัวอย่างการเขียนโค๊ด HTML
<html>
<body>

<h1>ละครไทย</h1>

<p>เรยา</p>

</body>
</html>
จากตัวอย่างจะเห็นว่า 
-การเขียนโค๊ด HTML เริ่มต้นด้วย <html> และต้องจบ </html>
-มีส่วนแสดงเนื้อหาของเพจ คือ body โดยการเขียน body จะเริ่มต้นด้วย <body> และต้องจบด้วย </body>
-ภายในตัว body (ส่วนเนื้อหา) ก็จะประกอบด้วยส่วนย่อยอื่นอีก เช่นในตัวอย่าง body ประกอบด้วย 
   1. head  ซึ่งเป็นส่วนหัวเรื่อง (ในตัวอย่างนี้คือ  ละครไทย) การเขียนโค๊ด เริ่มต้นด้วย <h1> และต้องจบ </h1>
   2. page  ซึ่งเป็นส่วนเนื่อเรื่อง (ในตัวอย่างนี้คือ เรยา) การเขียนโค๊ด เริ่มต้นด้วย <p> และต้องจบ </p>
**จะสังเกตเห็นว่าการเขียนโค๊ด HTML นั้น ขึ้นต้นด้วยอะไรก็ต้องจลด้วยสิ่งนั้น 
แหล่งข้อมูล :  http://www.mindphp.com

วันอังคารที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Gmail คืออะไร



Gmail คืออะไร

Gmail คือบริการฟรีอีเมล์รูปแบบคือ สมัครการใช้งาน (ฟรี) โดย Gmail เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google เว็บ Search Engine ที่ใหญ่และมีคนใช้งานมากที่สุดในโลก สำหรับบัญชีของ Gmail เปรียบเสมือนใบเบิกทางสำหรับการเปิดใช้ ID ของ Google เพราะบริการของ Google มีมากมาย หากมีอีเมล์ของ Gmail ก็จะสามารถใช้บริการได้หลากหลาย เพราะคุณจะมี Account ของ Google ติดตัวไปด้วย

บริการอื่นๆของ Google ที่ได้จาก การสมัคร Gmail??

Google มีบริการอื่นๆมากมาย และหากเราสมัคร Gmail จะได้บัญชีเหล่านี้ไปด้วย เช่น Youtube , Blogger , Google+ , Google Map , Google Drive , Guru และอื่นๆอีกมากมาย

สมัคร Gmail

การสมัครอีเมล์ของจีเมล์ หรือ Google Mail นั้น จริงๆแล้วง่ายมาก โดยรายละเอียดการสมัครจริงๆแล้วจะง่ายกว่า hotmail ด้วยซ้ำ (ถ้าไม่เจอขั้นตอนการส่ง SMS) บางครั้งหากเราสมัคร Gmail อาจมีให้เราส่ง SMS เพื่อยืนยันเบอร์โทรของเรา อันนี้อาจต้องใช้เบอร์มือถือในการสมัคร (แล้วแต่กรณีที่ Google มองว่าเราเป็น Spam หรือไม่)

แหล่งข้อมูล :  https://www.modify.in.th/2435

วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การใช้โปรแกรมฐานข้อมูล


1. อธิบายความหมาย หน้าที่ และส่วนประกอบของโปรแกรมฐานข้อมูล
2. ประยุกต์ใช้โปรแกรมฐานข้อมูลในการเก็บ ค้น จัดการข้อมูล
3. ใช้คำสั่งในโปรแกรมฐานข้อมูลเพื่อสร้างโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลขนาดเล็ก

       ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับการเริ่มต้นใช้โปรแกรมตารางงาน ส่วนประกอบของโปรแกรมตารางงาน การป้อนและจัดรูปแบบข้อมูล การสร้างสูตรและการใช้ฟังก์ชันในการคำนวณ การปรัยแก้ข้อมูล การจัดการจัดการฐานข้อมูลในตารางงาน การออกรายงานในรูปแบบข้อความและแผนภูมิ การวิเคราะห์ข้อมูล สร้างตารางสรุปสาระสำคัญ (Pivot Table) การสร้างแมโครเบื้องต้น


 รู้จักกับ Access
ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่เราจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการประมวลผลข้อมูลต่างๆ เช่น ระบบการออกใบรายการสินค้า ระบบสินค้าคงคลัง และระบบบันทึกเวลาเข้าออกของพนักงาน เป็นต้น เนื่องจากข้อดีของคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก และทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งในอดีตการทำงานกับข้อมูลจำนวนมากนั้น ต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก และยังก่อให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายอีกด้วย



         Microsoft Access เป็นโปรแกรมฐานข้อมูลหนึ่งที่นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายบนระบบปฏิบัติการ Windows Me ,Windows 2000 หรือ Windows XP  เนื่องจากเป็นโปรแกรมฐานข้อมูลที่มีความสามารถสูง ใช้งานง่าย และสามารถช่วยเราในการสร้างแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลแบบใช้งานเอง หรือแอพพลิเคชั่นฐานข้อมุลระบบเครือข่ายก็ได้
         โปรแกรม Microsoft Access เป็นส่วนหนึ่งในชุดโปรแกรม Microsoft Office Professional Edition ซึ่งโปรแกรม Access ได้เปลี่ยนแปลงหน้าตาและรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ใหม่ เช่นเดียวกัยโปรแกรมในชุด Microsoft Offiece นอกจากนี้ Access ยังสนับสนุนความสามารถด้านอินเตอร์เน็ตด้วย ดังนั้นถ้าเราวางแผนที่จะเผยแพร่ข้อมุลของเราผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต โปรแกรม Access สามารถช่วยเราได้
ถ้าเราเคยได้ยินว่าโปรแกรมฐานข้อมูลนั้นใช้งานยาก และต้องมีความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมด้วย คำกล่าวนี้ไม่เป็นจริงสำหรับ Access เนื่องจากโปรแกรมนี้สามารถสร้างแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลขึ้นมาได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปศึกษาการเขียนโปรแกรมให้ยุ่งยาก และAccess  ยังมีเครื่องมือต่างๆ ที่เรียกว่า วิซาร์ด (Wizard) ที่ช่วยในการทำงานต่างๆ ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย สรุปก็คือเราสามารถสร้างแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูลขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องเสียเวลาศึกษาวิธีการเขียนโปรงแกรมให้ยุ่งยากด้วย Access
                สำหรับนักพัฒนาโปรแกรมมืออาชีพแล้ว Access นั้น ยังมีความสามารถต่าง ๆที่ตอบสนองความต้องการในระดับสูง เช่น เชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลอื่นๆ ได้ง่าย การสร้างโปรแกรมฐานข้อมูลบนระบบเครือข่าย การนำข้อมูลในฐานข้อมูลออกเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำได้อย่าง
ง่ายดาย และยังมีภาษาโปรแกรมให้ใช้ ถ้าต้องการสร้างแอพพลิเคชั่นที่ความซับซ้อน เป็นต้น
                โปรแกรม Microsoft Access เป็นส่วนหนึ่งในชุดโปรแกรม Microsoft Access Professional Edition ซึ่งโปรแกรม Accessได้เปลี่ยนแปลงหน้าตาและรูปแบบการติดต่อกับผู้ใช้ใหม่ เช่นเดียวกับโปรแกรมในชุด Microsoft Access นอกจากนี้ Access ยังสนับสนุนความสามารถด้านด้านอินเตอร์ ดังนั้นถ้าเราวางแผนที่จะเผยแพร่ข้อมูลของเราผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต โปรแกรม Access สามารถช่วยเราได้

เราใช้งาน Access ทำอะไรได้บ้าง

                Access นั้นสามารถทำงานต่างๆ ต่อไปนี้ได้

- ใช้สร้างแอพพลิเคชั่นฐานข้อมูล เช่น โปรแกรมควบคุมสินค้าคงคลัง โปรแกรมบันทึกเวลาเข้าออกของพนักงาน เป็นต้น โดยที่ใน Access นั้น มีเครื่องมือต่างๆ ในการสร้างแอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็ว และใช้งานง่าย ซึ่งเราอาจจะไม่ต้องเขียนโปรแกรมเลยก็ได้
- มีเครื่องมือในการสอบถามข้อมูลต่างๆ จากฐานข้อมูล เพื่อนำผลลัพธ์ไปทำงานบางอย่าง เช่น เราอาจจะต้องการทราบว่ายอดขายสินค้าแต่ละอย่างเป็นเท่าไร เป็นต้น
- สามารถสร้างเครื่องมือในการติดต่อกับผู้ใช้ได้อย่างเหมาะสม เช่น การแสดงข้อมูล ลูกค้าให้ผู้ใช้งานแก้ไขข้อมูลได้เป็นต้น
- ช่วยเราในการสร้างรายงานจากฐานข้อมูลได้ เพื่อใช้ในการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์ชื่อและที่อยู่ลูกค้าเพื่อทำฉลากติดซองจดหมายส่งข้อมูลไปยังลูกค้า เป็นต้น
ช่วยให้เราสามารถเผยแพร่ข้อมูลขององค์กรที่อยู่ในฐานข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต และอินทราเน็ตได้อย่างง่ายดาย เนื่องจากในAccess มีเครื่องมือที่ช่วยในการทำงานต่างๆ เหล่านี้อย่างครบถ้วน




การเรียกโปรแกรม Access

                การเรียกโปรแกรม Access ขึ้นมา ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ และจะปลากฎหน้าต่างโปรแกรม Access ที่มีไดอะล็อกซ์ลักษณะดังรูป
1. เลือกเมนู Start>Programs>Microsoft Access
2. click mouse เลือกว่า จะสร้างไฟล์ใหม่ หรือเลือกจากที่มีอยู่แล้ว

ส่วนประกอบต่างๆ ของไฟล์ฐานข้อมูลใน Access
                ไฟล์ฐานข้อมูลใน Access นั้น คือที่เก็บฐานข้อมูลที่ประกอบด้วยส่วนประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.  Table ต่อไปเราจะเรียกส่วนนี้ว่า ตาราง เป็นส่วนที่เก็บโครงสร้างของฐานข้อมูล และข้อมูลต่างๆ ที่เรามี เช่น ตารางลูกค้าเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชื่อและที่อยู่ลูกค้าแต่ละรายได้ ตารางนี้จะเก็บข้อมูลในรูปแถวและคอลัมน์โดยข้อมูลในแต่ละแถวจะเรียกว่า เรคอร์ด (Record) ซึ่งเป็นข้อมูลของลูกค้าแต่ละราย และข้อมูลในแต่ละคอลัมน์จะเรียกว่า ฟิลด์ (Fields) เช่น ในตารางลูกค้าจะมีฟิลด์รหัส ชื่อ และที่อยู่ของลูกค้า เป็นต้น ตารางมีลักษณะดังรูป

2.  Query ต่อไปเราจะเรียกส่วนนี้ว่า คิวรี เป็นเครื่องมือในการสอบถาม แก้ไข เพิ่มลบข้อมูลในตารางอย่างอัตโนมัติ เช่น ถ้าเราต้องการทราบว่ายอดขายสินค้าของเดือนนี้เป็นเท่าไร เราสามารถใช้คิวรีในการทำงานนี้ให้กับเราได้ เป็นต้น ถ้ามีข้อมูลในตารางมากมาย คิวรีจะช่วยลดเวลาในการทำงานของเราลงไปได้มากสำหรับการทำงานของคิวรีจะเป็น


           3  Form ต่อไปเราจะเรียกส่วนนี้ว่า ฟอร์ม เป็นเครื่องมือช่วยในการทำงานกับข้อมูลในฐานข้อมูล เช่น                หน้าต่างที่ให้ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลแต่ละเรคอร์ดในตาราง และยังสามารถแก้ไข เพิ่ม ลบข้อมูลต่างๆ ได้             เป็นต้นนอกจากนี้ ฟอร์มยังสามารถแสดงข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น รูปภาพ เสียง เป็นต้น รวมทั้ง           สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่จะป้อนเข้าไปในตารางได้อีกด้วยฟอร์มมีลักษณะ ดังรูป


           4.  Report  ต่อไปเราเรียกส่วนนี้ว่า รายงาน เป็นเครื่องมือที่ใช้แสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูลออกมา เช่นเรา                          ต้องการพิมพ์ฉลากติดซองจดหมาย เพื่อส่งไปยังลูกค้าแต่ละรายAccess สามารถช่วยเราในเรื่องนี้ได้อย่าง                 ง่ายๆ เป็นต้น นอกจากนี้ Access สามารสร้างรายงานที่มีกราฟและรูปภาพได้ ซึ่งช่วยให้รายงานของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น รายงานมีลักษณะดังรูป


           5.  Macro ต่อไปเราจะเรียกส่วนนี้ว่า มาโคร เป็นคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยให้ Access ทำงานอย่างอัตโนมัติได้ เช่น                      ต้องการพิมพ์รายงานจากฟอร์มได้ด้วยการ Click mouse บนปุ่มพิมพ์ เพื่อพิมพ์รายงานออกมาทันทีแทนที่จะ                ต้องปิดหน้าต่างฟอร์มที่แสดงเรคอร์ดที่จะพิมพ์ แล้วไปเปิดรายงานที่ต้องการพิมพ์ เป็นต้น


แบบฝึกหัด
 1.   การเรียกใช้โปรแกรม Access มีวิธีการเรียกอย่างไร
               ก.  เลือก เมนู Start  >  Programs  >  Microsoft  Access
               ข.   เลือก เมนู Start   >  Programs >  Microsoft  Excel
                ค.   เลือก เมนู  Start   >  Programs >  Microsoft  Messengre
                ง.   เลือกทั้งข้อ  ก   และ  ข้อ  ข

2. ข้อใดไม่ใช้ส่วนประกอบต่างๆ ของไฟล์ฐานข้อมูลใน Access
                ก. Table
                ข. Query
                ค. Form
                ง.  ถูกทุกข้อ
3. Table  คือ
                ก. ตาราง
                ข. เครื่องมือในการสอบถาม
                ค. เคื่องมือช่วยในการทำงานกับข้อมูลในฐานข้อมูล
                ง. ถูกทั้ง ก  และ  ข
4. Query คือ
                ก. ตาราง
                ข. เครื่องมือในการสอบถาม แก้ไข
                ค. เคื่องมือช่วยในการทำงานกับข้อมูลในฐานข้อมูล
                ง. ผิดถูกข้อ
5. For m  คือ
                ก. ตาราง
                ข. เครื่องมือในการสอบถาม
                ค. เคื่องมือช่วยในการทำงานกับข้อมูลในฐานข้อมูล
                ง. ถูกทั้ง ก  และ  ข
6. Report คือ
                ก. ตาราง
                ข. เครื่องมือในการสอบถาม
                ค. เคื่องมือช่วยในการทำงานกับข้อมูลในฐานข้อมูล
                ง. รายงาน
7. Data Access Page คือ
                ก. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูลและทำงานกับฐานข้อมูลผ่านทางเว็บด็
                ข. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูล
                ค. การแสดงข้อมูล                    
                ง. การเผ่ยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
8. Macro  คือ
                ก. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูลและทำงานกับฐานข้อมูลผ่านทางเว็บด็
                ข. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูล
                ค.เป็นคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยให้ Access ทำงานอย่างอัตโนมัติ
                ง. การเผ่ยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
9.  Module คือ
                ก. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูลและทำงานกับฐานข้อมูลผ่านทางเว็บด็
                ข. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราแสดงผลข้อมูลในฐานข้อมูล
                ค.เป็นคำสั่งต่างๆ ที่ช่วยให้ Access ทำงานอย่างอัตโนมัติ
                ง. การควบคุมการทำงาน
10.การออกจาก Access สามารถทำได้โดยวิธีใดบ้าง
                ก. Click mouse เมนู File > Exit
                ข. เมนู File > Exit
                ค. เมนู File > open
                ง. ถูกทุกข้อ

อ้างอิง  ; http://suwimonlove.blogspot.com/p/2-access.html

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

ซอฟต์แวร์ประยุกต์

ซอฟต์แวร์ประยุกต์


          ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application software) หมายถึง โปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของผู้ใช้ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รับความนิยม เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ โปรแกรมคำนวณ โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล โปรแกรมค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
      3.1 ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Application Software for Specific Surpose) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่มีความชำนาญงานในด้านนั้น หรือพัฒนาโดยบุคลากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรนี้ก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือสร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อน จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของกรมศุลกากร โปรแกรมฝากถอนเงินของธนาคาร โปรแกรมระบบสินค้า

      3.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป (General Purpose Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานให้เหมาะสมกับลักษณะงานของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เช่น การจัดพิมพ์รายงาน การนำเสนองาน การจัดทำบัญชี การตกแต่งภาพ การออกแบบเว็บไซต์ เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้          
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์


1) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล (Database Management Software) คอมพิวเตอร์สามารถใช้จัดการกับข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กันไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า ฐานข้อมูล (Database) ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลเป็นโปรแกรมทำหน้าที่สร้างฐานข้อมูลและจัดการกับข้อมูลให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การเรียกค้นข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล การเพิ่มข้อมูล เช่น Dbase , Paradox , Foxbase , Microsoft Access เป็นต้น โปรแกรมที่จัดการฐานข้อมูล จะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตารางที่มีความสัมพันธ์กันแต่ละตารางจะประกอบด้วยแถวที่เรียกว่า ระเบียน หรือ เรคคอร์ด (Record) และคอลัมน์ที่เรียกว่า ฟิลด์ (Field) แต่ละเรคคอร์ดจะประกอบด้วยฟิลด์ของข้อมูลที่ต้องการเก็บ เช่น ฐานข้อมูลโรงเรียน จะมีการจัดเก็บประวัตินักเรียน ซึ่งประกอบด้วยรายละเอียดของข้อมูล ได้แก่ เลขประจำตัว ชื่อ นามสกุล วันเกิด เพศ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปรแกรม access 2010

2) ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ (Word Processing Software) เป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้ในการสร้าง แก้ไข เพิ่ม แทรก ลบ และจัดการรูปแบบเอกสาร ทำให้เอกสารมีรูปแบบที่สวยงาม น่าสนใจ ซึ่งเอกสารที่ผู้ใช้พิมพ์ไว้จะถูกจัดเป็นแฟ้มข้อมูล (File) สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้และสั่งพิมพ์ทางเครื่องพิมพ์ได้ด้วย ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Office Word , Adobe Indesign , CorelDraw , WordPerfect , OpenOffice , Pladao Office เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปรแกรม ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ

          
3) ซอฟต์แวร์ทำการคำนวณ (Caculation Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ การทำงานของซอฟต์แวร์ใช้หลักการเสมือนมีโต๊ะทำงาน ที่มีกระดาษขนาดใหญ่วางไว้ มีเครื่องมือคล้ายปากกา ยางลบ และเครื่องคำนวณเตรียมไว้ให้เสร็จ บนกระดาษมีช่องให้ใส่ตัวเลข ข้อความหรือสูตร สามารถสั่งให้คำนวณตามสูตรหรือเงื่อนไขที่กำหนด นอกจานี้ ผู้ใช้ยังสามารถสร้างกราฟ เพื่อนำเสนอได้อย่างง่ายดาย ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Office Excel ,OpenOfficeCaleในโปรแกรมชุด Pladao Office เป็นต้น

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


4) ซอฟต์แวร์นำเสนอข้อมูล (Presentation Software) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ สร้างเอกสารที่ประกอบด้วยตัวอักษร รูปภาพ แผนผัง ภาพเคลื่อนไหว นิยมใช้ในการนำเสนอข้อมูลในการบรรยายในชั้นเรียนหรือการประชุม ซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้ เช่น Microsoft Office PowerPoint ,OpenOffice Impress , Pladao Office เป็นต้น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ application software


  5) ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย (Graphics and Multimedia Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยทำงานด้านกราฟฟิกและมัลติมีเดีย เช่น ตกแต่งภาพ วาดรูป ปรับเสียง ตัดต่อภาพเคลื่อนไหว สร้างสรรค์งานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงการสร้างและออกแบบพัฒนาเว็บไซต์ ให้มีรูปแบบสวยงาม ทันสมัย เหมาะสมกับสื่อแต่ละประเภท เป็นโปรแกรมที่ง่ายต่อการศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง มีลูกเล่นหลากหลาย สามารถสั่งงานตามความต้องการได้ง่าย ซึ่งถือเป็นโปรแกรมหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทุกระดับ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิกและมัลติมีเดีย

6) ซอฟต์แวร์การใช้งานบนเว็บไซต์และการติดต่อสื่อสาร (Web Site and Communications Software) เป็นโปรแกรมที่พัฒนาเพื่อการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้งานเฉพาะอย่างเพิ่มขึ้น เช่น โปรแกรมสำหรับตรวจสอบอีเมล การท่องเว็บไซต์ การจัดการและดูแลเว็บไซต์ การส่งข้อความ รวมถึงการประชุมทางไกลผ่านเครือข่าย เป็นต้น


 การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์
            การเลือกใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ให้เหมาะสมกับงาน มีขั้นตอนดังนี้
          1. สำรวจงานที่ผู้ใช้ต้องการใช้ซอฟต์แวร์อย่างละเอียดว่ามีลักษณะงานแบบใด           
          2. สำรวจฮาร์ดแวร์และระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ได้แก่ ระบบปฏิบัติการความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง ความจุของหน่วยความจำหลัก ความจุของหน่วยความจำสำรอง และความจุของการ์ดแสดงผล         
           3. ทดลองใช้ซอฟต์แวร์อย่างน้อย 15 นาที เพื่อพิจารณาถึงประสิทธิภาพการใช้งานโดยใช้งานง่าย ไม่มีข้อผิดพลาด มีระบบความช่วยเหลือ มีคู่มือการใช้งานที่อ่านเข้าใจง่าย           
           4. ศึกษาเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถใกล้เคียงกัน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ดังนี้           
                – เปรียบเทียบความสามารถของโปรแกรมที่ใกล้เคียงกับความสามารถที่ผู้ใช้ต้องการมากที่สุด          
                – เปรียบเทียบกับราคาที่ใกล้เคียงกับงบประมาณที่ผู้ใช้ตั้งไว้           
          5. ศึกษาข้อมูลบริการหลังการขายและระยะเวลาในการรับประกัน           
          6. ทำความคุ้นเคยกับการใช้ซอฟต์แวร์ประมาณ 1 สัปดาห์ ก่อนนำไปใช้งาน
                               
⤕⤕⤗⤗⤗⤗⤕⤕⤗⤗⤗⤗⤕⤕⤗⤗⤗⤗⤕⤕⤗⤗⤗⤗

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

การใช้ซอฟต์ในการทำงาน

ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์

       ซอฟแวร์ (Software)  เป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างเป็นขั้นตอน การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้น  จึงขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์เป็นสำคัญ  โดยต้องเลือกใช้ซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน     


ประเภทของซอฟต์แวร์

สามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกัน และควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบที่นิยมแพร่หลาย ได้แก่ DOS, UNIX, WINDOWS, SUN, OS/2, NET WARE เป็นต้น
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating Systems : OS) หรือ Supervisory Programs หรือ Monitors Programs เป็นโปรแกรมที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งและมีความสลับซับซ้อนมาก ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถควบคุม (Control) การปฏิบัติงานของเครื่องได้เองโดยอัตโนมัติ และดูแลตรวจตราทุก ๆ การทำงานของฮาร์ดแวร์ในระบบคอมพิวเตอร์ นับตั้งแต่เปิดเครื่องจนกระทั่งปิดเครื่อง ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมระหว่างซอฟต์แวร์กับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) คือ ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ทันทีที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมทันที โปรแกรมแรกที่สั่งคอมพิวเตอร์ทำงานนี้เป็นซอฟต์แวร์ระบบ ซอฟต์แวร์ระบบอาจเก็บไว้ในรอม หรือในแผ่นจานแม่เหล็ก หากไม่มีซอฟต์แวร์ระบบ คอมพิวเตอร์จะทำงานไม่ได้ ตัวอย่างของซอฟต์แวร์ระบบ เช่น วินโดว์ 98 วินโดว์เอ็กซ์พี ยูนิกซ์ และ ลีนุกซ์ เป็นต้น

           ซอฟต์แวร์ระบบยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาซอฟต์แวร์อื่นๆ และยังรวมไปถึงซอฟต์แวร์ตัวแปลภาษาต่างๆ

          คอมพิวเตอร์ประกอบด้วย หน่วยรับเข้า หน่วยส่งออก หน่วยความจำ และหน่วยประมวลผล ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นของคอมพิวเตอร์ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีการดำเนินงานกับอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น ดังนั้นจึงต้องมีซอฟต์แวร์ระบบเพื่อใช้ในการจัดการระบบ หน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วย

          1) ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออก เช่น รับรู้การกดแป้นต่างๆ บนแผงแป้นอักขระ ส่งรหัสตัวอักษรออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ ติดต่อกับอุปกรณ์รับเข้าและส่งออกอื่นๆ เช่น เมาส์ ลำโพง เป็นต้น

          2) ใช้ในการจัดการหน่วยความจำ เพื่อนำข้อมูลจากแผ่นบันทึกมาบรรจุยังหน่วยความจำหลัก หรือในทำนองกลับกัน คือนำข้อมูลจากหน่วยความจำหลักมาเก็บไว้ในแผ่นบันทึก

          3) ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น เช่น การขอดูรายการในสารบบ (directory) ในแผ่นบันทึก การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล 


          ซอฟต์แวร์ระบบพื้นฐานที่เห็นกันทั่วไป แบ่งออกเป็นระบบปฏิบัติการ และ ตัวแปลภาษา ซอฟต์แวร์ทั้งสองประเภทนี้ทำให้เกิดพัฒนาการประยุกต์ใช้งานได้ง่ายขึ้น


ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น

           1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก 



          2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน



          3) ยูนิกซ์ (Unixเป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน

           4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกะนู ( Gun’s Not Unix : GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (freeware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 
          ระบบลีนุกซ์ สามารถทำงานได้บนซีพียูหลายตระกูล เช่น อินเทล (PC Intel) เอเอ็มดี (Advanced Micro Devices : AMD) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ระบบปฏิบัติการวินโดวส์บนพีซีได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนมากได้หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กันมากขึ้น




           5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ



          นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา


http://www.krumontree.com/ebook3/page/Lesson5_4_2.htm

https://sites.google.com/site/ngankaekhrangthi2/bth-thi